aquaticworld
ปลาวาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน เส้นทางสัตว์สี่เท้าเดินบนบกสู่การเป็นยักษ์ใหญ่ใต้ท้องทะเล

วาฬสีน้ำเงิน ในฐานะเจ้าแห่งมหาสมุทรผู้ยิ่งใหญ่ มันไม่ได้เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแค่ในยุคปัจจุบัน แต่ยังเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา เรื่องที่เรามักได้ยินเกี่ยวกับวาฬสีน้ำเงินก็จะมีแค่ความใหญ่โตของตัวมัน แต่ว่าในความเป็นจริงยังคงมีเรื่องราวน่าสนใจของวาฬสีน้ำเงินอีกเป็นจำนวนมากให้อ่านกันในวันนี้

ข้อมูลทั่วไป

ปลาวาฬสีน้ำเงิน (Blue whale) เป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยอาศัยอยู่บนโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Balaenopteridae เช่นเดียวกับ วาฬบาลีน โดยมีน้ำหนักมากถึง 200 ตัน (เทียบเท่าช้าง 33 เชือก) วาฬสีน้ำเงินมีหัวใจขนาดเท่า Volkswagen Beetle กระเพาะของปลาวาฬสามารถบรรจุเคยได้หนึ่งตัน และกินเคยประมาณ 4-5 ตันในแต่ละวัน เป็นสัตว์ใต้ทะเลที่มีเสียงร้องดังที่สุดในโลก ซึ่งมีความดังถึง 188 เดซิเบล ในขณะที่เครื่องบินเจ็ทมีความดังถึง 140 เดซิเบล

Mesonychid

indohyus

Pakicetus

ความเป็นมาของวาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงินมีบรรพบุรุษคือสัตว์กลีบ แม้ว่าจะเป็นเจ้าสมุทรบรรพบุรุษของวาฬกลับเป็นสัตว์บกด้วยซ้ำ ยังมีกลีบที่เท้าอีกด้วย บรรพบุรุษของวาฬมีชื่อว่า Mesonychid เป็นสัตว์เลี้ยงรูปในนม ที่อยู่ในยุคพาริโอจีนหรือราว 65 ล้านปีก่อนมันใช้เวลาราว 10 ล้านปีวิวัฒนาการตัวเองจากสัตว์บกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคอีโอซีน หรือราว 55 ล้านปีก่อนและมันก็กลายเป็นสัตว์น้ำอย่างสมบูรณ์ ขาทั้ง 4 ข้างของมันค่อยๆหดหายไปและไม่มีออกมาให้เห็นในที่สุด 

ในปัจจุบันกระดูกส่วนขาหลังของวาฬเป็นเพียงอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เพียงแค่ยึดติดกับอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น มีการพบว่าในยุคแรกว่าเป็นสัตว์บก 4 ขา เช่น อินโดไฮอัส (Indohyus) หรือ พาคิเซทัส (Pakicetus)

ในแถบเอเชียใต้มีชีวิตอยู่เมื่อราว 50 ล้านปีก่อน พวกมันจะมีกระดูกแข็งบริเวณหูชั้นกลางคล้ายกับวาฬในปัจจุบันและไม่พบในสัตว์กลุ่มอื่น เป็นการยืนยันได้ว่าบรรพบุรุษรุษของวาฬนั้นเป็นสัตว์บกจริงๆ ซึ่งญาติที่สนิทที่สุดกับวาฬในปัจจุบันคือฮิปโปโปเตมัส แต่มันไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของวาฬโดยตรง

ลักษณะทางกายภาพ

ปลาวาฬสีน้ำเงิน

แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลาวาฬสีน้ำเงิน เกิดขึ้นทั่วโลกในมหาสมุทรทุกแห่ง ยกเว้นอาร์กติก พวกมันยังหายไปจากทะเลในภูมิภาคบางแห่ง เช่น ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลโอค็อตสค์ และทะเลแบริ่ง แทบไม่เคยเห็นพวกมันจากอเมริกาใต้ตะวันออกหรือออสเตรเลียตะวันออกเลย แม้จะมีการกระจายตัวในวงกว้าง แต่วาฬสีน้ำเงินก็ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากจำนวนที่ลดลง และเหตุร้ายเพราะมักเกิดขึ้นในน่านน้ำนอกชายฝั่ง โดยมีพื้นที่เพาะพันธุ์และให้อาหารริมชายฝั่งเพียงไม่กี่แห่ง

อาหาร

วาฬสีน้ำเงินกินส่วนใหญ่จะกินสัตว์จำพวกสัตว์เล็กเป็นอาหาร แม้ว่าจะมีขนาดตัวที่ใหญ่มหึมาแต่อาหารของหวานสีน้ำเงินกลับเป็นสัตว์เล็กๆอย่างพวก แพลงก์ตอน หรือ เคย ที่มีขนาดราวครึ่งนิ้วเท่านั้น ซึ่งมีความยาวน้อยกว่าวาฬสีน้ำเงินขนาดปกติถึง 2,000 เท่า แต่ถึงแม้ว่ามันจะกินสัตว์เล็กเป็นอาหาร แต่ว่าสีน้ำเงินก็กินในปริมาณที่มากถึงราว 40 ล้านตัวต่อวัน 

นอกจากนี้พวกมันที่โตเต็มวัย อาจกินอาหารได้มากสุดถึงวันละ 4 ตัน ซึ่งมากพอๆกับน้ำหนักของช้าง 1 ตัว ไม่กินเนื้อมนุษย์ฟันของมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักล่า อีกทั้งมันยังมีขนาดลำคอที่แคบไม่สามารถจะกลืนมนุษย์ลงไปได้ จึงไม่เคยมีการบันทึกว่ามีมนุษย์โดนวาฬกินมาก่อนและมันก็ยังไม่ใช่สัตว์ที่ดุร้ายอีกด้วย

ลักษณะของวาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน

แหล่งที่มาของภาพ : www.iwc.int/about-whales/whale-species/blue-whale

ส่วนต่างๆของวาฬสีน้ำเงินอย่างที่ทราบกันแล้วว่า วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ วาฬสีน้ำเงินขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบ มีความยาวตลอดลำตัวถึง 56 เมตร หรือเท่ากับความยาวของสนามบาส 2 สนาม แต่มันยังมีอวัยวะส่วนอื่นที่มีขนาดใหญ่มาก เช่นหัวใจของวาฬสีน้ำเงินเป็นหัวใจของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีขนาดราวรถยนต์ 1 คัน คือ กว้าง 1.5 เมตรและหนักกว่า 150 กก. เสียงเต้นของหัวใจวาสีน้ำเงินแต่ละครั้งสามารถได้ยินไกลกว่า 3,000 เมตร คลีบหางของวาฬสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าปีกเครื่องบินโดยสารบางรุ่น หรือแม้แต่เส้นเลือดภายในร่างกายของมันก็กว้างพอที่จะทำให้คนสามารถลงไปว่ายน้ำได้

สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติม : ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ปลาวาฬมีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างไร

ปลาวาฬมีบทบาทสำคัญที่สุดในระบบห่วงโซ่อาหาร และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1,900 จนถึงทศวรรษที่ 1970 วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไขมัน และน้ำมันของวาฬช่วยให้ติดไฟได้ดี จนมีคนกล่าวว่าไขมันวาฬเป็นเชื้อเพลิงจากพระเจ้า ว่ากันว่าในเวลานั้นกว้างกว่า 500,000 ตัวถูกนักล่าวาฬฆ่า ประชากรวาฬลดจำนวนลงเป็นอย่างมากเช่นบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งใต้ ที่แทบไม่เหลือวาฬสีน้ำเงิน การล่าวาฬอย่างหนักในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลให้วาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มเหลือประชากรเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น จึงมีการเริ่มการอนุรักษ์วาฬขึ้นอย่างจริงจัง ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษ 20 ปัจจุบันในซีกโลกใต้เหลือวาฬสีน้ำเงินเพียงราว 1,500 ตัวเท่านั้น และมันยังมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 2 ต่อปี ส่งผลให้วาฬสีน้ำเงินกลายเป็นสปีชีส์หรือสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

ข้อเท็จเกี่ยวกับวาฬสีน้ำเงิน

เป็นยอดนักกลั้นหายใจ วาฬสีน้ำเงินเองหายใจด้วยปอดเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป แต่ว่าวาฬสีน้ำเงินนั้นสามารถกลั้นหายใจได้นานกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยมันสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้อย่างน้อย 20 นาทีเป็นเรื่องปกติ และในบางครั้งมันอาจกลั้นหายใจได้นานนับชั่วโมงเลยทีเดียว วาฬสีน้ำเงินจะเก็บก๊าซออกซิเจนจำนวนมากไว้ในปอด และเมื่อออกซิเจนหมดแล้วมันจึงจะขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก และในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นก็จะมีน้ำพ่นออกมาเหมือนน้ำพุจากอวัยวะพิเศษที่ปิดรูจมูกของวาฬเอาไว้ เพื่อไม่ให้มีน้ำเข้าไปขณะที่มันหายใจอีกด้วย

หัวใจเต้นช้ามากตอนหาอาหาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ทีมนักชีววิทยาจาก Stamford University ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าทึ่งว่า วาฬสีน้ำเงินจะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำสุดเพียง 2 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น เมื่อมันดำน้ำลึกหาอาหาร โดยพวกเขาได้ทดลองติดเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจกับวาฬสีน้ำเงิน ที่หากินอยู่ในอ่าวมอนเทอร์เร่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยติดที่บริเวณครีบของมันเป็นเวลา 9 ชั่วโมง พวกเขาบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจวาสีน้ำเงินได้ที่ 2-8 ครั้งต่อนาที Dr. Jeremy Goldbogen ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่น่าแปลกมากขณะหาอาหาร 

มีประสาทรับกลิ่นและการมองเห็นไม่ดี ถึงจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ว่าในตาของวาฬสีน้ำเงินนั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่เหมือนกับตัว มันมีนัยน์ตาที่เล็กมากนั่นทำให้ประสาทการมองเห็นของวาฬสีน้ำเงินแทบไม่ได้ใช้การ นอกจากนี้มันยังมีประสาทการรับกลิ่นที่ไม่ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตามวันสีน้ำเงินก็ยังมีประสาทการฟังเสียงที่ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นประสาทสัมผัสหลักที่พวกมันใช้ไว้เพื่อหาอาหารและนำทางในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่

ส่งเสียงได้ไกลที่สุดในโลก เราทราบกันดีว่าวาฬมีการติดต่อสื่อสารพิเศษกว่าสัตว์ชนิดอื่นใด มันจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเพื่อใช้สื่อสารในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน โดยวาฬสีน้ำเงินนั้นเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องไปได้ไกลที่สุดในโลก หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม วาฬสีน้ำเงินสามารถส่งเสียงไปหาพวกเดียวกันได้ไกลถึง 1,600 กิโลเมตร ซึ่งพอๆกับความยาวจากจุดเหนือสุดไปถึงจุดใต้สุดของประเทศไทยเลยทีเดียว เสียงที่วาฬสีน้ำเงินส่งออกไปนั้นจะเป็นรูปแบบของคลื่นเสียงสั้น พวกมันไม่เพียงแค่ใช้คลื่นเสียงในการสื่อสารแต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันยังใช้เพื่อนำทางและหาอาหารอีกด้วย การปล่อยคลื่นเสียงของวาฬมีความคล้ายคลึงกับระบบส่วนหน้าที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่างๆแล้วสะท้อนกลับเข้ามาประสาทหูของมันเพื่อใช้คำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ

ข้อมูลเพิ่มเติม : สัตว์ทะเล
บทความที่น่าสนใจ : หมึกกระดอง