aquaticworld
โลมา

โลมา

โลมา เป็นสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อาศัยอยู่ในทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่ โลมาไม่ใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก อยู่ในอันดับเดียวกันกับ วาฬ ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬ และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน 

โลมามีรูปร่างเรียวยาว มีปลายปากยื่นแหลม แต่บางชนิดมีหัวมน มีหางแบนแนวนอนไม่ใช่แนวตั้งเหมือนปลา ไม่มีขน ไม่มีเกล็ด และไม่มีเมือก มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของโลมา และโลมามีฟันซี่แหลมคมเรียงยาวกว่า 100-200 ซี่ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ ซึ่งอาหารของโลมาส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก

เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง >> น้ำหนักวาฬ

ขนาด

น้ำหนัก 100-200 กิโลกรัม

อาหาร

ปลา ปลาหมึก กุ้ง และสัตว์ทะเลขนาดเล็ก

แหล่งที่ค้นพบ

มหาสมุทรและทะเล

ที่อยู่อาศัย

ทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย

ลักษณะนิสัยโลมา

อย่างที่เรารู้กันดีว่า โลมาเป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในแต่ละฝูงอยู่รวมกันหลายพันตัว โลมาจะใช้เสียงและท่าทางเป็นสื่อที่จะใช้สื่อสารระหว่างกัน และโลมาสามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว มีอัตราความเร็วในการว่ายน้ำประมาณ 55-58 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวเหนือน้ำหรือว่ายน้ำขนาบข้างเรือไปพร้อมๆกัน 

ทังนี้ยังถือว่า โลมาเป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุด เป็นมิตรกับมนุษย์ และเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด เพราะโลมามีขนาดสมองที่ใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ถือเป็นสัตว์ที่มีสมองขนาดใหญ่ซึ่งรองจากมนุษย์ สมองช่วยในการเรียนรู้และความจำ เป็นศูนย์รวมประสาทของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนบางครั้งอาจจะเชื่อได้ว่าโลมาฉลาดเทียบเท่ากับมนุษย์ จากที่เราเห็นในสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์หลายๆที่ ที่ได้นำโลมาฝึกเพื่อใช้แสดงโชว์นั่นเอง

แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์

พบโลมาได้ที่ไหน แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะพบได้ในมหาสมุทรและทะเล ที่พบในแม่น้ำก็มี เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศไทยและประเทศลาว โลมาอาศัยในทะเลเปิด ซึ่งมีการย้ายถิ่นฐานตามแหล่งอาหาร ฤดูกาล และย้ายเพื่อขยายพันธุ์  

การแพร่กระจายของโลมาในน่านน้ำไทย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

  1. ชนิดที่อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย (inland-coastal species) ได้แก่ โลมาอิระวดี (Ocaella breviorstris)
  2. ชนิดที่อาศัยบริเวณชายฝั่งปากแม่น้ำ (coastal Species) ได้แก่ โลมาเผือก (Sousa chinensis) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides)
  3. ชนิดที่อยู่ในทะเลเปิด (oceanic species) ซึ่งพบเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น ได้แก่ กลุ่มวาฬหัวทุย (Macrocephalus physeter) โลมาแถบ (Stenella coeruleoalba) วาฬหัวแตงโม (Peponocephala electra) วาฬฟันสองซี่ (Mesoplodon ginkgodens) เป็นต้น
โลมา
โลมา

ภาวะคุกคามต่อโลมา

ภาวะคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์

  • เครื่องมือประมง เป็นหนึ่งในภาวะคุกคามต่อโลมาที่พบบ่อยที่สุด ส่งผลให้โลมาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
  • มลพิษทางน้ำ เกิดจากสารเคมี น้ำมัน และขยะต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบสืบพันธุ์ของโลมา
  • เสียงรบกวน ที่เกิดจากการเดินเรือ การสำรวจทางทะเล และการระเบิด อาจรบกวนการสื่อสารและพฤติกรรมการล่าเหยื่อของโลมา
  • การล่าและจับ โลมาบางชนิด เช่น โลมาปากขวด ยังคงถูกล่าและจับเพื่อการค้าอาหารและยาแผนโบราณ

ภาวะคุกคามจากสิ่งแวดล้อม

ภัยคุกคามที่ส่งผลต่อโลมาส่วนมากเลยจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้น้ำทะเลอุณห๓ูมิสูงและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำลายแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล และแนวประการัง ส่งผลให้สูญเสียแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยนั่นเอง

แหล่งข้อมูล : www.th.wikipedia.org/wiki/โลมา

สัตว์ทะเลมีกี่ชนิด : รวมสายพันธุ์สัตว์ทะเล