
ปลานกแก้ว ความรู้เกี่ยวกับปลานกแก้ว คืออะไร?
ปลานกแก้ว (parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง ปลานกแก้วเป็นปลาทะเลขนาดกลาง โตเต็มที่ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีจะงอยปากที่สามารถยืดหดได้เหมือนนกแก้ว ด้วยลักษณะที่คล้ายกับนกแก้ว จึงเป็นที่มาของชื่อปลานกแก้ว ปลานกแก้วมีลักษณะโดดเด่นและสีสันสวยงาม สร้างความสดใสให้ท้องทะเล เวลาว่ายน้ำจะดูสง่างาม เหมือนนกที่กำลังบิน
โดยปลาตัวผู้จะสวยงามกว่าตัวเมีย ลำตัวยาวรี หัวโต ครีบหางเว้า มีฟันที่แข็งแรง เรียงเป็นแถว เพื่อใช้ขูดกินอาหาร ปลานกแก้วเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร ซึ่งอาหารหลักคือ สาหร่าย ฟองน้ำ ปะการัง และพืชทะเลอื่นๆ ปลานกแก้วมักจะออกหากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืน ปลานกแก้วมีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก จะพบมากในแนวปะการัง
การสืบพันธุ์และเจริญเติบโต
ปลานกแก้ว เป็นปลาที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีวิธีการสืบพันธุ์ที่น่าสนใจกว่าปลาชนิดอื่น ด้วยปลานกแก้วสามารถเปลี่ยนเพศเองได้ตลอดช่วงอายุ ปลานกแก้วบางสายพันธุ์จะวางไข่จำนวนมาก บางสายพันธุ์ก็วางไข่เพียงไม่กี่พองเท่านั้น ไข่ของปลานกแก้วจะลอยน้ำและฟักเป็นตัวอ่อนเพียงไม่กี่วัน โดยตัวอ่อนของปลานกแก้วกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เมื่อตัวอ่อนโตขึ้นก็จะกินสาหร่ายเป็นอาหาร ปลานกแก้วจะเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี
สายพันธุ์ของปลานกแก้ว
ปลานกแก้วมีประมาณ 90 สายพันธุ์ และพบได้ในน่านน้ำไทยฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันมากกว่า 20 สายพันธุ์ และเป็นปลาที่ขึ้นชื่อในเรื่องสีสันสดใสสวยงาม ในวัยเด็ก บางสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งหนึ่งที่ปลานกแก้วมีเหมือนกันก็คือ ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศแนวปะการัง
12 สายพันธุ์หลักๆของปลานกแก้วที่พบมากในประเทศไทย

ปลานกแก้วหัวค้อน (Bumpheaded parrotfish)

ปลานกแก้วตาดาว (Carolines Parrotfish)

ปลานกแก้วแก้มขีด (Pink-margined Parrotfish)

ปลานกแก้วหัวมน (Daisy Parrotfish)

ปลานกแก้วหัวกระสุน (Bullethead Parrotfish)

ปลานกแก้วหัวทุย (
Indian Ocean Steephead Parrotfish)

ปลานกแก้วปีกเขียว (Troschel’s Parrotfish)

ปลานกแก้วจมูกยาว (Candelamoa Parrotfish)

ปลานกแก้วบั้งเหลือง (Yellowbarred Parrotfish)

ปลานกแก้วสีเพลิง (Blue-barred Parrotfish)

ปลานกแก้วหางเหลือง (Yellow-tail Parrotfish)

ปลานกแก้วเกล็ดด่าง (Bridled Parrotfish)
ลักษณะเฉพาะของปลานกแก้ว
- ปลานกแก้วมีสีสันสวยงาม มีเอกลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว
- ปลานกแก้ว 1 ตัวสามารถสร้างทรายได้ เฉลี่ยวันละ 1 กิโลกรัม
- ปลานกแก้วมีฟันคล้ายจะงอยของนก
- ปากนกแก้วใช้เพื่อขูดกินปะการัง
- ปลานกแก้วสามารถเปลี่ยนเพศได้ตลอดช่วงชีวิต
- ปลานกแก้วมีชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 7 ปี
- ปลานกแก้วตัวผู้และตัวเมีย มีสีที่ไม่เหมือนกัน
- ปลานกแก้วนอนตามซอกหิน ก่อนนอนจะปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายคล้ายกับดักแด้
ความสัมพันธ์ของปลานกแก้วต่อระบบนิเวศ
ปลานกแก้วมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศแนวปะการัง ด้วยการกินของปลานกแก้วจะช่วยเปิดผิวหน้าของพื้นที่ให้ตัวอ่อนของปะการังมายึดเกาะได้ง่ายขึ้น และช่วยในการกำจัดสาหร่ายและพืชทะเลอื่นๆ ที่เจริญเติบโตมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมได้
ปลานกแก้วเป็นปลาที่ทุกคนนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่เนื่องจากปลานกแก้วเป็นปลาที่มีความนิยมสูง ทำให้มีการจับปลานกแก้วจากธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปลานกแก้วลดลงเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันปลานกแก้วจัดอยู่ในกลุ่มปลาที่กำลังจะใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลานกแก้วไม่ให้ถูกทำลาย
บทความเพิ่มเติม : aquaticworld.info
เรื่องน่ารู้ : ประโยชน์ของปลาทู