
ปลาทู ปลาทูทะเล คืออะไร?
ปลาทู หรือ Rastrelliger brachysoma เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลวงศ์ปลาอินทรี ซึ่งเป็นปลาตระกูลเดียวกันกับปลาโอ ปลาอินทรี และปลาทูน่า ปลาทูมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทร โดยทั่วไปแล้วจะพบได้ในบริเวณเขตร้อนและอบอุ่นทะเลทั่วโลก รวมถึงทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ทะเลเป็นแหล่งที่ปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก ปลาทูมีการขยายพันธุ์และอพยพที่กว้างขวาง ปลาทูจะวางไข่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี ในน่านน้ำของจังหวัดสุราษธานีกับประจวบคีรีขันธ์ ของประเทศไทย โดยจะวางไข่ที่ก้นทะเลลึก แต่พอตัวเต็มวัยในช่วงอายุ 6 เดือน และจะว่ายเข้าหาฝั่งแถบก้นอ่าวไทย
โดยปลาทูเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด และยังเป็นปลาที่สำคัญทางเศษฐกิจของไทยอันดับต้นๆ เป็นแหล่งอาหารหลักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากหลักฐานด้านวิชาการกรมประมง พบว่า ปลาทูจะอาศัยอยู่บริเวณก้นอ่าวไทย จึงมีความอุดมสมบูรณ์ และมีสารอาหารอยู่ในตัวประเภทโปรตีนอย่างดี ทั้งกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และกรดโคโคซาเฮ็กชิโนอิก (ดีเอชเอ) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ ปลาทูจัดอยู่ในกลุ่มประเภทปลาที่มีไขมันต่ำ โดยมีไขมันที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 กรัม/เนื้อ 100 กรัม เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย
ลักษณะที่พบโดยทั่วไปของปลาทู
- ปลาทูมีลักษณะลำตัวที่เรียวยาว เรียบและเล็ก มีเกล็ดที่ละเอียดสีเงินจำนวนมากตามลำตัว มีครีบปลา และบางชนิดมีลวดลายที่แตกต่างกันออกไป
- ปากของปลาทู มีขนาดใหญ่ แหลม มีฟันซี่เล็กๆเป็นแนวยาวในปาก
- ตาของปลาทูจะมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่ สีดำ
- ความยาวของลำตัวจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด โดยที่พบจะยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะที่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนตัวในน้ำและมีความคล่องตัว

วงจรชีวิตปลาทู
- ปลาทูจะเริ่มวางไข่ในฤดูร้อน ช่วงเมษายน-มิถุนายน ในบริเวณที่มีน้ำตื่นแลพน้ำใส ครั้งละประมาณ 50,000-100,000 ฟอง วางไขได้ 2 ครั้ง/ปี
- ไข่ปลาทูจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 24-48 ชั่วโมง โดยจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร และจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
- ปลาทูตัวโตเต็มวัย มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 2 ปี
ปลาทูมีกี่ชนิด มีอะไรบ้าง
ปลาทูที่พบโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ที่เป็นปลาตระกูลวงศ์ปลาอินทรีย์ คือ

ปลาทู ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูตัวยาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rastrelliger negletus ลักษณะลำตัวแบน หัวสั้น ตาเล็ก ปากแหลม โดยลำตัวของปลาจะมีสีเงิน มีครีบ 2 ครีบ ครีบอันแรกจะแข็ง ส่วนครีบหลังจะอ่อน และส่วนท้องของปลาจะมีครีบแข็ง 1 ครีบ ปลาทูตัวสั้น มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร และปลาทูตัวยาว มีความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร เนื้อปลาทูจะละเอียด นุม มัน และอร่อยมากๆ

ปลาลัง ปลาทูลัง หรือ ปลาทูโม่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rastrelliger Kanagurta ลักษณะลำตัวเรียว ยาว หัวแหลม ตาโต ปากกว้าง เกล็ดเล็กๆ โดยลำตัวของปลามีสีน้ำเงินปนเขียว ครีบหลัง 2 ครีบ พบจุดสีดำใต้ฐานครีบหลัง มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีอายุสั้น ประมาณ 2 ปี นิยมนำมาประกอบอาหาร

ปลาทูปากจิ้งจก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rastrelliger faughni มีลักษณะลำตัวที่เรียวยาวแหลม หัวยาว ตาโต ปากแหลม ลำตัวของปลามีสีน้ำเงินแวววาว ส่วนท้องมีสีขาว มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีอายุสั้น ประมาณ 2 ปี มีเนื้อแข็ง หยาบ ไม่นิยมนำมารับประทาน เนื่องจากรสชาติไม่อร่อย
พฤติกรรมของปลาทู
ปลาทู เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ในบริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเล และแนวปะการัง สภาพน้ำที่ไม่ลึกเกิน 30 เมตร และมีอุณภูมิในน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส มักจะออกหากินในเวลากลางคืน ปลาทูจะว่ายน้ำหาอาหารประเภทแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ทั้งยังเป็นปลาที่มีความเฉลี่ยวฉลาดและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถหลีกเลี่ยงจากศัตรูได้ไว
ประโยชน์จากปลาทู สารอาหารคับเข่ง
ปลาทู เป็นปลาทะเลที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป มีราคาถูก ทั้งยังเป็นปลาที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะไขมันที่มีโอเมก้า 3 สูง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายต่อผู้บริโภคและสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้
แหล่งโปรตีนสูง เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนที่ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเซลล์ในร่างกาย
วิตามินและแร่ธาตุ ที่สำคัญ เช่น วิตามิน B , แฟลวอน , โพแทสเซียม , โอเมก้า-3 , โปแตสเซียม รักษาระดับพลังงาน
สุขภาพและหัวใจ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
ส่งเสริมสมองและสายตา ปลาทูมีไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและปัญหาทางสายตา
สร้างกระดูกและฟันแข็งแรง ปลาทูมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก ปลาทูมีโปรตีนและแร่ธาตุที่สำคัญ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก
ข้อควรระวังในการบริโภคปลาทู
- สารปรอท ส่วนใหญ่จะพบในปลาและสัตว์ทะเล แม้ว่าปลาทูจะเป็นปลาที่เต็มไปด้วยสารอาหาร และมีประโยชน์ แต่ก็มีผลกระทบและเป็นอันตรายกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และกำลังให้นม
- พยาธิ หลายๆคนมองว่าปลาทะเลส่วนใหญ่แล้วไม่มีพยาธิ แต่ความจริงแล้วนั้นการรับทานปลาทูหรือ ปลาทะเล ก็เสี่ยงที่จะได้รับพยาธิอะนิซาคิส ส่งผลให้ผู้ที่รับประทานเกิดอาการคลื่นใส้ อาเจียน และปวดท้องขั้นรุนแรงได้
ดังนั้นแล้วการบริโภคปลาทูนั้นเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยสารอาหารที่เข้าไปเสริมสร้างความต้องการ และระบบการทำงานของร่างกายได้อย่างดี แต่การที่จะรับประทานปลาทู จะต้องรับประทานปลาที่สด และปรุงสุกเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายตามที่กล่าวมาข้างต้น